9 วิธีการบริหารเงินโบนัสปลายปีอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุด 2566

13/12/2566
การเงิน-ธุรกิจ

เงินด่วนพร้อมใช้


ช่วงปลายปี หรือต้นปี เป็นช่วงเวลาที่เหล่ามนุษย์เงินเดือนต่างตั้งหน้าตั้งตารอคอย เนื่องจากเป็นช่วงที่บริษัทส่วนใหญ่จะให้เงินโบนัสแก่พนักงาน ซึ่งเราเชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะรีบนำเงินก้อนนั้นไปซื้อของเพื่อให้รางวัลตัวเองกันอย่างรวดเร็ว จนทำให้เงินหมดในพริบตา ดังนั้น จะดีกว่าไหมถ้าเรารู้วิธีการบริหารเงินโบนัสปลายปีให้คุ้มค่า และไม่ต้องทำให้คุณไปทุบกระปุกเอาเงินเก็บมาใช้ในช่วงปลายเดือน

 

9 วิธีการบริหารเงินโบนัสปลายปี ฉบับ 2566


การซื้อของเพื่อให้รางวัลตัวเอง เป็นเรื่องที่ไม่ผิดเลยสักนิด หากคุณมีการบริหารเงินก้อนนั้นให้คุ้มค่าที่สุด ดังนั้น เราไปดูกันดีกว่าว่าวิธีบริหารเงินโบนัสปลายปีที่เรารวบรวมมาแบ่งปันมีอะไรบ้าง
 

เงินด่วนพร้อมใช้

 

1. ตั้งเป้าหมายทางการเงิน


สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อได้เงินโบนัสมาแล้วก็คือ การตั้งเป้าหมายทางการเงิน ซึ่งจะต้องสามารถลงมือทำและประสบความสำเร็จได้ โดยยึดตามหลัก SMART 5 ข้อ ดังนี้

  1. มีความชัดเจน (Specific)
  2. ระบุจำนวนเงินได้ (Measurable)
  3. มีวิธีการที่จะทำให้สำเร็จได้ (Accountable)
  4. เป็นจริงได้ (Realistic)
  5. มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน (Time Bound)

 

2. แบ่งสัดส่วนโบนัสให้ดี


เมื่อกำหนดเป้าหมายทางการเงินเรียบร้อยแล้ว อันดับต่อไปก็จะต้องมาแบ่งสัดส่วนโบนัสให้ดี แนะนำให้แยกเงินโบนัสออกมาจากเงินเดือนเลย โดยควรจะแบ่งสัดส่วนโบนัสออกเป็น 4 ก้อน เพื่อกระจายการออม และสร้างวินัยทางการเงิน ซึ่งวิธีนี้ก็สามารถนำไปใช้ในการจัดสรรเงินเดือนได้เช่นกัน

  • ก้อนที่ 1 นำไปใช้บริหารหนี้สิน
  • ก้อนที่ 2 กระจายการลงทุน เพื่อเพิ่มพูนกำไรในอนาคต
  • ก้อนที่ 3 เป็นการแบ่งเงินออม เผื่อใช้ในยามฉุกเฉิน
  • ก้อนที่ 4 ให้รางวัลตัวเอง

 

3. แบ่งสำรองเป็นเงินฉุกเฉิน


จากข้อที่แล้วจะเห็นว่า เราควรจะแบ่งโบนัสส่วนหนึ่งไว้เป็นเงินออม เพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า งานที่เราทำอยู่นั้นมีความมั่นคงเพียงใด หรืออาจจะมีปัญหาสุขภาพที่เข้ามาจนทำให้เราไม่สามารถทำงานได้ก็ได้ ซึ่งแต่ละอาชีพก็มีความมั่นคงไม่เท่ากัน ดังนั้นการแบ่งจำนวนเงินฉุกเฉินก็จะไม่เท่ากัน

  • อาชีพที่มีความมั่นคงสูง โอกาสตกงานน้อย - ควรเก็บเงินฉุกเฉินไว้ 3 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน
  • อาชีพที่มีความมั่นคงปานกลาง - ควรเก็บเงินฉุกเฉินไว้ 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน
  • อาชีพที่เป็นเจ้านายตัวเอง มีรายได้ไม่แน่นอน - ควรเก็บเงินฉุกเฉินไว้ 12 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน 

 

เงินด่วนพร้อมใช้

 

4. การทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์


หลาย ๆ คนอาจจะมองว่า การทำประกันสุขภาพเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น เพราะยังมีสุขภาพที่แข็งแรงดีอยู่ ดังนั้น ก็อาจจะลองเปลี่ยนมาทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ซึ่งเป็นการประกันความเสี่ยงในกรณีเสียชีวิต แต่ยังได้ผลพลอยได้จากการออม ผลตอบแทน และการลดหย่อนภาษี

 

5. การลงทุนตามที่ถนัด


หากคุณอยากให้เงินโบนัสที่ได้มางอกเงย และเป็นประโยชน์ต่อตัวคุณในอนาคต ลองหันมาเริ่มต้นลงทุนดูก็ไม่เสียหาย โดยแนะนำให้กำหนดระยะเวลาที่สอดคล้องกับเป้าหมายและความเสี่ยง แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้

  • เป้าหมายระยะสั้น ใช้เวลาทำให้สำเร็จไม่เกิน 1 ปี เน้นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ และรักษาเงินต้น เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ กองทุนรวมตราสารหนี้ เป็นต้น
  • เป้าหมายระยะกลาง ใช้เวลาทำให้สำเร็จไม่เกิน 3-7 ปี เน้นการลงทุนที่มีความเสี่ยงปานกลาง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น กองทุนรวมผสม เป็นต้น
  • เป้าหมายระยะยาว ใช้เวลาทำให้สำเร็จมากกว่า 5 ปีขึ้นไป เน้นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อโอกาสในการรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น เช่น หุ้น กองทุนรวมตราสารทุน เป็นต้น 

 

6. คำนวณเงินที่ต้องใช้วัยเกษียณ


เพื่อให้คุณมีความพร้อมต่อการเกษียณอายุในอนาคต คุณควรจะหันมาสังเกตตัวเองว่า เงินเก็บที่เรามีอยู่เพียงพอต่อการเกษียณอายุหรือไม่ โดยควรจะมีเงินเก็บให้ได้อย่างน้อย 15% ของรายได้ก่อนหักภาษี หากเงินเกษียณคุณยังไม่ถึงเป้าที่ตั้งไว้ การแบ่งเงินโบนัสมาเก็บในส่วนนี้ก็จะช่วยให้คุณสามารถเก็บเงินไว้ใช้ในยามเกษียณได้มากขึ้น
 

เงินด่วนพร้อมใช้

 

7. ทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย


การทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย เป็นหนึ่งในวิธีการบริหารเงินที่มีประสิทธิภาพ เพราะนอกจากจะเป็นสิ่งที่ช่วยเตือนความจำให้คุณได้แล้ว ยังช่วยให้คุณเห็นภาพรวมด้านการเงินมากขึ้นว่า คุณแบ่งเงินไปเก็บไว้ส่วนไหนเท่าไหร่ รายจ่ายของเราสัมพันธ์กับรายได้หรือไม่ และมีรายจ่ายส่วนใดที่ลดลงได้หรือไม่

 

8. จัดการหนี้สินที่มี


หากคุณมีหนี้สินอยู่จำนวนหนึ่ง และวางแผนว่าจะนำเงินโบนัสทั้งหมดไปใช้ในการจัดการหนี้บางก้อนจนหมด แนะนำว่า ให้บริหารหนี้สินและจัดลำดับการชำระหนี้ให้ดี โดยเน้นจากการจัดการหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยสูงก่อน เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้จากการขอสินเชื่อเงินด่วนพร้อมใช้ เป็นต้น จากนั้นค่อยนำส่วนที่เหลือชำระหนี้บ้าน คอนโด หรือรถยนต์ เพื่อให้เงินต้นน้อยลง

 

9. ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น


เชื่อว่าคงจะมีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่คิดว่า เมื่อได้โบนัสแล้วจะใช้จ่ายตามใจได้ แต่นั่นเป็นความคิดที่ผิด เพราะมันอาจจะทำให้เงินโบนัสที่คุณได้มาหายวับไปกับตาได้ ดังนั้น การลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องทำ เพื่อสร้างนิสัยในการใช้จ่ายที่ดียิ่งขึ้น และเพื่อลดโอกาสเกิดหนี้จากการใช้เงินเกินตัว
 

เงินด่วนพร้อมใช้

 

สรุปบทความ


และทั้งหมดนี้ก็คือ 9 วิธีการบริหารเงินที่เรารวบรวมมาแบ่งปันกันในบทความนี้ สำหรับคนที่กำลังจะได้รับเงินโบนัสในช่วงปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า ก็อย่าลืมให้ความสำคัญกับการจัดสรรเงินโบนัสให้ดี หรือจะนำไปปรับใช้กับการจัดสรรเงินเดือนได้เช่นกัน
 

 

Tags: มนุษย์เงินเดือน บริหารเงิน

พร้อมรู้กับพรอมิส