โดนมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงิน ทำตามนี้อาจได้คืน

26/09/2567
สินเชื่อน่ารู้

พรอมิสแนะนำวิธีป้องกันมิจฉาชีพ
ใครที่เคยโดนมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงินเพื่อเป็นค่าธรรมเนียมก่อนโอนเงินกู้ หรือจ่ายค่าสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์แต่ไม่ได้รับของ หรือโอนค่ามัดจำที่พักหลังจากนั้นก็โดนเพจบล็อกทันที ถ้าใครเคยประสบพบเจอกับเหตุการณ์เหล่านี้ ขอบอกว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณดำเนินการได้อย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ แถมยังมีโอกาสได้รับเงินคืนอีกด้วย

เช็กให้ชัวร์ รูปแบบนี้มิจฉาชีพแน่นอน

ถ้าหากคุณได้มีการโอนเงินให้กับเหตุการณ์เหล่านี้ขอบอกเลยว่า นี่อาจจะเป็นการโอนเงินให้กับมิจฉาชีพถึง 99% 

  1. ให้โอนเงินค่าธรรมเนียมก่อนแล้วจะโอนเงินให้ทีหลัง
  2. เพจหรือร้านค้าไม่มีรีวิวจากผู้ที่เคยซื้อสินค้า หรือน้อยมาก 
  3. หน้าเพจมีการกดโกรธเป็นจำนวนมาก
  4. บอกว่าเป็นญาติ โทรมาขอยืมเงิน
  5. ลงทุนกับผมเงินดี คืนทุนไว
  6. บัญชีจะโดนระงับ หากไม่โอนเงินจ่ายค่าธรรมเนียม
  7. บัญชีมีปัญหา ต้องโอนเงินออกก่อน เพื่อรักษาสถานะบัญชีไว้

แต่ถ้าอยากเช็กให้ชัวร์ ทำได้โดยการติดต่อธนาคารหรือผู้ให้บริการผ่านทางเว็บไซต์หลักเท่านั้น อย่าค้นหาหรือโทรไปยังเบอร์มือถือที่เพจหรือบล็อกอื่นๆ แนะนำ เพราะอาจเจอกับมิจฉาชีพได้อีกเช่นกัน

ตรวจสอบประวัติบัญชี เช็กให้ชัวร์ก่อนโอนเงิน

หากจำเป็นที่จะต้องโอนเงินเพื่อซื้อสินค้าหรือมัดจำค่าที่พัก สามารถตรวจสอบเลขบัญชี ชื่อ-นามสกุลของบัญชีปลายทางได้ผ่านทางเว็บไซต์ฉลาดโอนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่ถ้าหากตรวจสอบแล้วไม่พบประวัติการโกงก็อย่าเพิ่งหลงเชื่ออย่างแน่นอน เพราะว่าอาจจะเป็นบัญชีที่เปิดขึ้นมาใหม่ทำให้ยังไม่มีประวัติการโกงนั่นเอง

4 ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อโดนมิจฉาชีพหลอกโอนเงิน

พรอมิสแนะนำวิธีป้องกันมิจฉาชีพ
วิธีปฏิบัติเมื่อโดนมิจฉาชีพหลอกโอนเงิน ทำตามได้ไม่ยุ่งยาก มี 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1: แจ้งเรื่องไปยังธนาคารที่ใช้ในการโอนเงิน

โดยสามารถติดต่อสอบถามได้ผ่านช่องทาง Line OA ของธนาคารนั้นๆ เพื่อแจ้งรับรหัสอ้างอิง ในการนำไปแจ้งความ

ขั้นตอนที่ 2: พิมพ์เอกสารหรือบันทึกภาพหน้าจอเพื่อใช้เป็นหลักฐาน

เมื่อได้รับรหัสอ้างอิงจากธนาคารแล้วให้เตรียมหลักฐานทั้งหมดให้เรียบร้อย ซึ่งหลักฐานที่สำคัญเพื่อใช้ในการแจ้งความได้แก่ ข้อความแชททั้งหมด สลิปการโอนเงิน รหัสอ้างอิงจากธนาคาร

ขั้นตอนที่ 3: แจ้งความออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

เพราะจะช่วยให้คุณติดตามสถานะของเรื่องที่ได้แจ้งไปได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องเสียเวลาลางานไปดำเนินการที่สถานีตำรวจหลายๆ ครั้ง เพราะเนื่องจากว่าทุกวันนี้มีมิจฉาชีพหลอกโอนเงินในรูปแบบออนไลน์กันเป็นจำนวนมาก  เพราะฉะนั้นแล้วการแจ้งความออนไลน์ไปก่อนจึงเป็นเหมือนการนัดหมายคุณตำรวจเพื่อสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยในช่องทางออนไลน์เรายังสามารถเลือกสถานีตำรวจใกล้บ้านในการสอบปากคำได้อีกด้วย

 

โดยต้องทำการลงทะเบียนสำหรับการแจ้งความครั้งแรกดังนี้
1.    ไปที่เว็บไซต์ https://thaipoliceonline.go.th/ 
ขั้นตอนที่ 1


2.    ลงทะเบียนสำหรับแจ้งความครั้งแรก กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน
ขั้นตอนที่ 2


3.    กดปุ่ม “แจ้งเรื่องใหม่”
ขั้นตอนที่ 3


4.    ตอบแบบสอบถามจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่ามีผลต่ออะไรบ้างโดยมีทั้งหมด 3 คำถาม
ขั้นตอนที่ 4


5.    กรณีที่มีรหัสอ้างอิงจากธนาคารเรียบร้อยแล้วให้เลือก “ใช่ ติดต่อธนาคาร” แต่ถ้าหากยังไม่ได้ติดต่อธนาคารเพื่อรับรหัสอ้างอิงสามารถเลือก “ยังไม่ได้ติดต่อธนาคาร” ต้องทำการติดต่อให้เรียบร้อยก่อน หลังจากนั้นกดปุ่ม “ถัดไป”
ขั้นตอนที่ 5


6.    ยินยอมการแจ้งความรวมถึงรายละเอียดที่ได้นำมาแจ้ง
ขั้นตอนที่ 6


7.    กรอกข้อมูลส่วนตัวของผู้ที่ได้รับความเสียหายให้ครบถ้วน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการสืบสวนคดี
ขั้นตอนที่ 7


8.    กรอกข้อมูลการพบคุณตำรวจและนัดหมายสถานีตำรวจที่สะดวกในการเข้าสอบปากคำและติดตามคดี
ขั้นตอนที่ 8


9.    กรอกข้อมูลเหตุกาณ์ที่เกิดขึ้นโดยย่อในช่องว่าง เพื่อให้คุณตำรวจทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างเข้าใจ โดยเนื้อหาที่กรอกควรประกอบไปด้วย ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ขอเนื้อเน้นๆ  ไม่ต้องเอาน้ำมาเยอะนะ เพื่อให้คุณตำรวจอ่านและเข้าใจได้ง่าย
ขั้นตอนที่ 9


10.    กรอกข้อมูลบัญชีที่ใช้ในการโอนเงินทั้งหมดทั้งต้นทางและปลายทาง
ขั้นตอนที่ 10


11.    คลิกเพิ่มรายละเอียดที่เป็นเอกสาร ข้อความแชททั้งหมด สลิปการโอนเงิน รหัสอ้างอิงจากธนาคาร และตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับการกระทำความผิดที่เกิดขึ้น
ขั้นตอนที่ 11


12.    ตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดที่ได้กรอกไปแล้วข้างต้น หลังจากนั้นกดปุ่ม “ยืนยัน”
ขั้นตอนที่ 12

เมื่อแจ้งความสำเร็จแล้วต้องกลับมาติดตามสถานะการนัดหมายการสอบปากคำผ่านช่องทางนี้บ่อยๆ เพื่อจะได้ไปดำเนินการทั้งหมดเป็นเอกสารและทำการระงับบัญชีปลายทางที่โดนหลอกให้โอนเงิน ซึ่งในวันที่สอบปากคำคุณตำรวจจะทำการพิมพ์ข้อมูลของคู่กรณีที่เป็นเจ้าของบัญชีตาม ชื่อ-นามสกุล ที่เราได้โอนเงินไปให้ได้รับทราบอีกด้วย

ขั้นตอนที่ 4: ติดตามสถานะหลังจากแจ้งความไปแล้ว

หากสามารถนำเงินคืนกลับมาได้แล้วนั้น ทางคุณตำรวจจะแจ้งกลับมาอีกครั้ง

สรุปบทความ

หากใครที่กำลังตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพไม่ว่าจะมาในรูปแบบใดก็ตาม อยากให้ทุกคนส่งเรื่องไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะได้นำข้อมูลของมิจฉาชีพไปใส่ไว้ในระบบ เพื่อเตือนภัยให้กับคนอื่นๆ แต่การที่จะได้รับเงินคืนหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งเราสามารถสอบถามกับคุณตำรวจในวันที่นัดสอบปากคำได้เลย ว่ามีโอกาสที่จะได้เงินคืนกี่เปอร์เซ็นต์ แต่ทั้งนี้ถ้าใครที่กำลังมองหาเงินกู้ที่ถูกกฎหมายและน่าเชื่อถือ เราขอแนะนำสินเชื่อส่วนบุคคลพรอมิส สามารถสมัครได้ทั้ง เว็บไซต์ทางการของพรอมิส หรือ แอปพลิเคชัน Promise Thailand 

 

กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
ดอกเบี้ย 15%-25% ต่อปี
*กรุณาศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ก่อนการสมัครที่ promise.co.th
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ และธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด

Tags: มิจฉาชีพ พรอมิสเตือนภัย สินเชื่อพรอมิส หลอกโอนเงิน

พร้อมรู้กับพรอมิส