มนุษย์เงินเดือน ยื่นภาษีรายได้บุคคลธรรมดา 2566
มนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ เมื่อทำงานมาจนครบปีแล้ว คงจะสงสัยกันใช่ไหมล่ะว่า มีเงินเดือนเท่าไหร่ต้องยื่นภาษีรายได้บุคคลธรรมดาอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบทั้งวิธีการยื่นและทริกการคำนวนลดหย่อนภาษีแบบเข้าใจง่ายเหมือนจับมือทำ ซึ่งเริ่มแรกทุกคนต้องเตรียมเอกสารเพื่อกรอกและแนบประกอบการยื่นในครั้งนี้
1. หนังสือทวิ 50 จากทุกบริษัทฯ ที่ทำให้เกิดรายได้
2. ใบกำกับภาษีจากการซื้อสินค้าตามร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ “ช้อปดีมีคืน”
3. เอกสารลดหย่อนอื่นๆ ที่มี
4. เอกสารประกอบรายได้จากช่องทางอื่นๆ เช่น การลงทุนในหุ้น หรือกองทุนต่างๆ
หากทุกคนจัดเตรียมเอกสารได้ครบถ้วนตามที่ได้แจ้งมาแล้ว เราไปเริ่มยื่นภาษีรายได้บุคคลธรรมดา 2566 กันได้เลย
วิธีการยื่นภาษีรายได้บุคคลธรรมดา 2566
ขั้นตอนที่ 1 : เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th/272.html
ขั้นตอนที่ 2 : เลือกเมนู E-Filing ยื่นแบบทุกประเภท
ขั้นตอนที่ 3 : เลือกเมนู ยื่นแบบออนไลน์
ขั้นตอนที่ 4 : เข้าสู่ระบบ โดยสามารถเลือกการเข้าสู่ระบบได้หลากหลายรูปแบบ โดยทุกคนสามารถเลือกได้ตามที่ตนเองสะดวกเลย
ขั้นตอนที่ 5 : คลิก “ยื่นแบบ” ภ.ง.ด. 90/91
ขั้นตอนที่ 6 : ตรวจสอบข้อมูลรายได้ในระบบให้ตรงกับหนังสือทวิ 50 ที่มีอยู่ หากข้อมูลรายได้ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้ทำการแก้ไขให้ถูกต้องตามหนังสือทวิ 50
ขั้นตอนที่ 7 : กรอกรายการลดหย่อนภาษี
สำหรับรายการลดหย่อนภาษีที่ทุกคนจะได้รับ ระบบของกรมสรรพากรจะคำนวนการหักลดหย่อนที่บุคคลหนึ่งพึงจะได้รับให้อยู่แล้ว แต่สำหรับใครที่ต้องการลดหย่อนเป็นกรณีพิเศษ เช่น มีการทำประกันชีวิต อุปการะเลี้ยงดูพ่อแม่ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป บุคคลที่สมรสแบบมีบุตรและไม่มีบุตร ก็สามารถกรอกข้อมูลการลดหย่อนเพิ่มเติมได้จากรายละเอียดที่ทางกรมสรรพากรได้แจ้งเอาไว้
ต่อมาใครที่มีรายได้ต่อปีสูงต้องการที่จะหารายการลดหย่อนเพิ่มเติม เพื่อให้เสียภาษีได้ลดลงจากรายการลดหย่อนที่มีอยู่แล้วก็สามารถบริจาคให้กับหน่วยงานภาครัฐหรือพรรคการเมืองที่ชอบได้ แต่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจะไม่ได้ถูกนำมาคำนวนการลดหย่อนเต็มจำนวนทั้งหมด เพราะอัตราการนำมาลดหย่อนจะต้องเป็นไปตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่กรมสรรพากรกำหนด โดยทุกคนสามารถดูขั้นอัตราภาษีได้ดังนี้
ขั้นเงินได้สุทธิตั้งแต่ (บาท) |
เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุดของขั้น (บาท) |
อัตราภาษี (ร้อยละ) |
ภาษีสูงสุดในแต่ละขั้นเงินได้ (บาท) |
ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น (บาท) |
0 - 150,000 |
150,000 |
5 |
ยกเว้น* |
0 |
เกิน 150,000 - 300,000 |
150,000 |
5 |
7,500 |
7,500 |
เกิน 300,000 - 500,000 |
200,000 |
10 |
20,000 |
27,500 |
เกิน 500,000 - 750,000 |
250,000 |
15 |
37,500 |
65,000 |
เกิน 750,000 - 1,000,000 |
250,000 |
20 |
50,000 |
115,000 |
เกิน 1,000,000 - 2,000,000 |
1,000,000 |
25 |
250,000 |
365,000 |
เกิน 2,000,000 - 5,000,000 |
3,000,000 |
30 |
900,000 |
1,265,000 |
เกิน 5,000,000 บาท ขึ้นไป |
|
35 |
|
*ยกเว้น ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551 สำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 เป็นต้นไป ประกอบกับมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
เมื่อเราทราบรายได้ทั้งหมดให้นำมาเทียบกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาว่าเกณฑ์รายได้ของเรานั้นจะใช้อัตราภาษีใดมาเป็นตัวคิดหักลดหย่อยจากรายการอื่นๆ เพิ่มเติมข้างต้น ยกตัวอย่างเช่น หากเราซื้อสินค้ากับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ “ช้อปดีมีคืน” ยอดซื้อสินค้าทั้งหมด 10,000 บาท แต่อัตราภาษีของเราอยู่ที่ 10% แสดงว่าเราสามารถนำไปลดหย่อนได้แค่ 1,000 บาทเท่านั้น
ขั้นตอนที่ 8 : ระบบจะคำนวนข้อมูลสำหรับภาษีที่ชำระไว้เกินให้เราจะรายการทั้งหมดที่เราได้กรอกไปทั้งหมด ซึ่งหากใครที่มีการชำระภาษีไว้เกินทางระบบจะขึ้นให้โอนภาษีคืนให้เราผ่านช่องทางพร้อมเพย์ที่ได้ผูกไว้กับธนาคารต่างๆ แต่ใครที่มีรายการหักลดหย่อนแล้วแต่ต้องชำระภาษีเพิ่มเติมก็จะยังต้องกรอกข้อมูลการชำระเงินเช่นกัน
ขั้นตอนที่ 9 : แนบเอกสาร สำหรับใครที่กรอกข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ระบบมีให้แนบเอกสารเพิ่มเติม เพื่อใช้ยืนยันตัวเลขและข้อมูลที่กรอกไปข้างต้นให้กับเจ้าหน้าที่พิจารณาเพิ่มเติม
ขั้นตอนที่ 10 : หากชำระภาษีไว้เกิน รอกรมสรรพากรยืนยันข้อมูลและโอนเงินเข้าบัญชีที่ได้แจ้งไว้
สรุปบทความ
ใครที่ผ่านการยื่นภาษีรายได้บุคคลธรรมดาปี 2566 ไปได้ รับรองเลยว่าปีถัดๆ ไปทุกคนจะทำได้อย่างง่ายดายแน่นอน และสำหรับการยื่นภาษีรายได้บุคคลธรรมดา 2567 ก็อย่าลืมเตรียมตัวเก็บเอกสารสำหรับใช้ลดหย่อนภาษีกันไว้ด้วยนะทุกคน
สำหรับใครที่ต้องชำระภาษีเพิ่มเติมแต่กำลังเผชิญกับปัญหาด้านการเงิน กำลังหาทางออกอยู่ก็ขอให้นึกถึงสินเชื่อส่วนบุคคลพรอมิสที่จะช่วยให้ปัญหาของคุณบรรเทาขึ้นได้
กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
ดอกเบี้ย 15%-25% ต่อปี
*กรุณาศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ก่อนการสมัครที่ promise.co.th
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ และธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด