ไม่มีเงินจ่ายภาษีย้อนหลังควรทำอย่างไรดี
เมื่อได้รับจดหมายแจ้งเตือนจากกรมสรรพากรให้ชำระภาษีย้อนหลัง พร้อมค่าปรับและเงินเพิ่ม หลายคนอาจรู้สึกตกใจและกังวลใจ โดยเฉพาะถ้าไม่มีเงินเพียงพอที่จะชำระ แต่ไม่ต้องตื่นตระหนก เพราะยังมีทางออกและวิธีจัดการปัญหานี้ได้ บทความนี้จะชี้แนะแนวทางที่จะช่วยให้คุณรับมือกับสถานการณ์ภาษีย้อนหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาษีย้อนหลังคืออะไร
ภาษีย้อนหลัง คือ การที่กรมสรรพากรตรวจพบว่าผู้มีรายได้ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี หรือยื่นแบบไม่ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริง จึงทำการเรียกเก็บภาษีที่ค้างชำระพร้อมทั้งค่าปรับและเงินเพิ่ม โดยทั่วไปสรรพากรมีอำนาจตรวจสอบภาษีย้อนหลังได้ 2 ปี แต่หากพบความผิดปกติอาจตรวจสอบได้ถึง 5-10 ปี
ทำไมถึงโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง
สาเหตุที่ทำให้ถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังมีหลายอย่าง เช่น ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามกำหนดเวลา ยื่นแบบแต่แจ้งข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง มีรายได้เพิ่มเติมที่ไม่ได้รายงาน หรือกรมสรรพากรตรวจพบข้อมูลทางการเงินที่ไม่สอดคล้องกับรายได้ที่แจ้งไว้ จากการตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินหรือการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่น
วิธีตรวจสอบภาษีย้อนหลัง
เมื่อได้รับหนังสือแจ้งจากกรมสรรพากร คุณควรตรวจสอบรายละเอียดอย่างละเอียด เริ่มจากตรวจสอบปีภาษีที่ถูกเรียกเก็บ จำนวนเงินที่ต้องชำระ และกำหนดเวลาที่ต้องดำเนินการ นอกจากนี้ คุณยังสามารถตรวจสอบประวัติการยื่นภาษีและภาระภาษีค้างชำระของตนเองได้ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร หรือที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่คุณมีภูมิลำเนา
เสียค่าปรับภาษีย้อนหลังมีค่าอะไรบ้าง
การเสียภาษีย้อนหลังค่าปรับจำนวนเท่าไหร่บ้างนั้นจะขึ้นอยู่กับความผิดของคุณถูกจัดอยู่ในกรณีไหน โดยจะถูกแบ่งเป็น 4 กรณีหลัก ได้แก่
1. กรณีที่ยื่นแบบภาษีทันกำหนด แต่เสียภาษีไม่ครบ
หากคุณยื่นแบบภาษีทันตามกำหนดแต่ชำระภาษีไม่ครบถ้วน คุณจะต้องเสียเบี้ยปรับ 0.5-1 เท่าของค่าภาษีที่ต้องจ่าย และเงินเพิ่มอีก 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ค้างชำระ โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดยื่นแบบจนถึงวันที่ชำระภาษีครบถ้วน
2. กรณีที่ไม่ได้ยื่นภาษีภายในกำหนด
กรณีที่ไม่ได้ยื่นแบบภาษีภายในกำหนดเวลา จะมีโทษปรับทางอาญาสูงสุด 2,000 บาท พร้อมเบี้ยปรับ 1-2 เท่าของค่าภาษีที่ต้องจ่าย และเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีย้อนหลังที่ค้างชำระ นับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดยื่นแบบจนถึงวันที่ชำระภาษีครบถ้วน
3. กรณีที่มีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบภาษีภายในกำหนดเพื่อเลี่ยงภาษี
หากกรมสรรพากรพิจารณาว่าคุณมีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบภาษีเพื่อเลี่ยงภาษี จะมีโทษปรับทางอาญาสูงสุด 200,000 บาท หรือจำคุก 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงต้องเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของค่าภาษีที่ต้องจ่าย และเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ค้างชำระ
4. กรณีที่หนีภาษี
กรณีที่มีการหนีภาษี จะมีโทษปรับทางอาญาตั้งแต่ 2,000-200,000 บาท มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี พร้อมเบี้ยปรับ 2 เท่าของค่าภาษีที่ต้องจ่าย และเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ค้างชำระ
โดนภาษีย้อนหลัง แต่ไม่มีเงินจ่าย ควรทำอย่างไร
เมื่อโดนภาษีย้อนหลังแต่ไม่มีเงินจ่าย สิ่งสำคัญคือไม่ควรละเลยหรือเพิกเฉยต่อจดหมายแจ้งจากกรมสรรพากร ควรรีบดำเนินการติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อชี้แจงสถานการณ์และเจรจาขอผ่อนผันการชำระ โดยเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องให้พร้อม พร้อมทั้งวางแผนการชำระที่เป็นไปได้จริงตามกำลังทางการเงินของคุณ
ไม่อยากโดนภาษีย้อนหลังควรทำอย่างไร
การป้องกันปัญหาภาษีย้อนหลังทำได้โดยสร้างวินัยในการจัดการภาษี เริ่มจากการจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายอย่างเป็นระบบ เก็บเอกสารหลักฐานทางการเงินไว้อย่างน้อย 5 ปี ศึกษากฎหมายภาษีที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ และที่สำคัญคือการยื่นแบบและชำระภาษีตรงตามกำหนดเวลา หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น
สรุปบทความภาษีย้อนหลัง
การโดนภาษีย้อนหลังแม้จะสร้างความกังวลใจ แต่ยังมีทางออก คุณสามารถเจรจากับกรมสรรพากรเพื่อขอผ่อนผันการชำระและลดหย่อนค่าปรับได้ หากกำลังประสบปัญหาทางการเงินและต้องการเงินด่วน* สินเชื่อส่วนบุคคลพรอมิสอาจเป็นทางออกที่ช่วยคุณได้ ด้วยการอนุมัติทันใจใน 1 ชั่วโมง* วงเงินสูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท* ใช้เอกสารน้อย ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน จึงเป็นตัวช่วยที่ดีในยามฉุกเฉินที่ต้องการเงินเพื่อจัดการภาระทางการเงิน
กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
ดอกเบี้ย 15%-25% ต่อปี
*กรุณาศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ก่อนการสมัครที่ promise.co.th
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ และธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
*หากยื่นเอกสารครบถ้วนภายใน 18:00 น. และไม่มีเหตุขัดข้องด้านเอกสารหรือระบบ จะสามารถอนุมัติได้ภายใน 1 ชั่วโมง หรือภายในวันถัดไป